วันพุธที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2555

อัมบูยัต [บรูไน]




มีลักษณะเด่นคือ เหนียวข้นคล้ายข้าวต้มหรือโจ๊ก ไม่มีรสชาติ มีแป้งสาคูเป็นส่วนผสมหลัก วิธีทานจะใช้แท่งไม้ไผ่    2 ขาซึ่งเรียกว่า chandas ม้วนแป้งรอบๆ แล้วจุ่มในซอสผลไม้เปรี้ยวที่เรียกว่า cacah หรือซอสที่เรียกว่า cencalu ซึ่งทำจากกะปิ ทานคู่กับเครื่องเคียงอีก 2-3 ชนิด เช่น เนื้อห่อใบตองย่าง เนื้อทอด เป็นต้น การรับประทานอัมบูยัตให้ได้รสชาติ ต้องทานร้อนๆ และกลืน โดยไม่ต้องเคี้ยว
 
Ambuyat is considered the most popular delicacy in Brunei. It is made from sago and eaten by dipping a serving in a hot and thick sauce called cacah. Ambuyat, in replacement of rice, is served with a minimum of three main and side dishes.
อัมบูยัต
ส่วนผสม 
1 kg (6½ cups) sago rumbia 1 กิโลกรัม (6 ½ถ้วย) rumbia สาคู
Hot water, freshly boiled น้ำร้อนต้มสด
1 litre (4 cups) water 1 ลิตร (4 ถ้วย) น้ำ
Ingredient B ส่วนผสม 
600 g white fish/tongkol/tenggiri/kurau/senangin 600 กรัมสีขาวปลา / tongkol / tenggiri / kurau / senangin
40 g (5 pips) shallots 40 กรัมหอมแดง (5 จุด)
10 g (2 pips) garlic 10 กรัม (2 จุด) กระเทียม
10 g (2 cm) fresh turmeric pounded coarsely 10 กรัม (2 ซม. ) ขมิ้นสดโขลกหยาบ
10 g (2 cm) ginger 10 ขิงกรัม (2 ซม. )
3 g (5) bird's eye chillies 3 กรัม (5) นกพริกตา
30 g (2 sticks) lemon grass, crushed 30 กรัม (2 แท่ง) ตะไคร้บด
5 g (5 pcs) dried tamarind 5 กรัม (5 ชิ้น) แห้งมะขาม
9 g (1½ tsps) salt 9 กรัมเกลือ (1 ½ TSPs)
625 ml (2½ cups) water 625 ml น้ำ (2 ½ถ้วย)
Ingredient C ส่วนผสม 
500 g (60 stalks) paku shoots, cleaned and plucked 500 กรัม (60 ลูก) หน่อ Paku ทำความสะอาดและดึง
3 g (1/2 tsp) salt 3 กรัมเกลือ (1/2 ช้อนชา)
10 g (1 tbsp) vegetable oil 10 กรัมน้ำมันพืช (1 ช้อนโต๊ะ)
20 g (3 pips) shallots 20 กรัมหอมแดง (3 จุด)
10 g (2 pips) garlic pounded 10 กระเทียมกรัม (2 จุด) โขลก
10 g (1 tbsp) shrimp paste 10 กรัมวางกุ้ง (1 ช้อนโต๊ะ)
125 ml (1/2 cup) water 125 ml น้ำ (1/2 ถ้วย)
1 red chilli (sliced) for decoration 1 พริกแดง (หั่น) สำหรับการตกแต่ง
Method วิธี 
Ingredient A
 ส่วนผสม 
To make ambuyat:
 เพื่อให้ ambuyat:
  1. Mix sago with 4 cups of water and soak for 10 minutes. ผสมกับสาคู 4 ถ้วยน้ำและแช่นาน 10 นาที
  2. Drain off the water and pour sago into a heat proof container ท่อระบายน้ำออกจากน้ำและเทสาคูลงในภาชนะที่พิสูจน์ความร้อน
  3. Pour freshly boiled hot water over it. เทน้ำร้อนลวกสดมากกว่านั้น Mix well until the sago looks clear and of gummy consistency. ผสมกันจนสาคูมีลักษณะที่ชัดเจนและสอดคล้องเหนียว
Ingredient B ส่วนผสม
  1. Clean the fish and cut into 5 slices. ทำความสะอาดปลาและหั่นเป็นชิ้น 5
  2. Place into a saucepan together with other (B) ingredients. สถานที่ลงในกระทะพร้อมกับส่วนผสมที่ (B) อื่น ๆ Stir well until cooked. คนให้เข้ากันจนสุก
Ingredient C ส่วนผสม
  1. Heat oil in a kuali and stir-fry the pounded ingredients until fragrant. ความร้อนน้ำมันใน kuali และผัดส่วนผสมที่โขลกจนหอม
Stir in the paku shoots. คนใน Paku หน่อ Add salt and 1/2 cup of water. เพิ่มถ้วยเกลือและ 1/2 น้ำ Cook until soft. หุงจนนุ่ม Decorate with red chilli. ตกแต่งด้วยพริกแดง

อาม็อก [กัมพูชา]

  



    

     อาม็อก (Amok) เป็นอาหารคาวยอดนิยมของกัมพูชา มีลักษณะคล้ายห่อหมกของไทย โดยเป็นการนำเนื้อปลาสด ๆ ลวกพริกเครื่องแกง และกะทิ แล้วทำให้สุกโดยการนำไปนึ่ง ซึ่งนอกจากจะใช้เนื้อปลาแล้ว อาจเลือกใช้เนื้อไก่แทนก็ได้ ส่วนสาเหตุที่คนในประเทศกัมพูชานิยมรับประทานปลา เนื่องจากสภาพภูมิประเทศของกัมพูชามีแหล่งน้ำอุดมสมบูรณ์ ทำให้ปลาเป็นอาหารที่หารับประทานได้ง่ายนั่นเองมีลักษณะคล้ายห่อหมกของไทย นิยมใช้เนื้อปลาปรุงด้วยน้ำพริก เครื่องแกงและกะทิ ทำให้สุกโดยการนำไปนึ่งอาจใช้เนื้อไก่หรือหอยแทนได้ แต่ที่นิยมใช้เนื้อปลาเพราะหาได้ง่ายกาโด กาโด ของโปรดคนอินโดนีเซีย อาหารสำหรับผู้ที่รักสุขภาพ ประกอบไปด้วยผักและธัญพืช เช่น มันฝรั่ง กะหล่ำปลี ถั่วงอก ถั่วเขียว เสริมโปรตีนด้วยเต้าหู้และไข่ต้ม รับประทานคู่กับซอสถั่วที่คล้ายกับซอสสะเต๊ะ ใกล้เคียงกับสลัดแขกของประเทศไทย

กาโด กาโด [อินโดนีเซีย]




ส่วนผสม


ส่วนผสมน้ำราด

พริกแห้งเม็ดใหญ่แช่น้ำให้นิ่ม 10-15 เม็ด
ข่าอ่อน 7- 8 แว่น
รากผักชี 2-3 ราก
หอมแดงปอกเปลือก 7-8 หัว
กระเทียมปอกเปลือก 7-8 กลีบ
ตะไคร้ซอย 2-3 ต้น
หัวกะทิ 1 ถ้วย
หางกะทิ 1 ถ้วย
ถั่วลิสงคั่ว ป่น


เครื่องปรุง

น้ำตาล
เกลือ
น้ำมะขามเปียก


ส่วนผสมสลัด

เต้าหู้แข็งหั่นเป็นชิ้นบางๆ 1 แผ่น
ไข่ต้ม 2 ฟอง
ถั่วงอก
บร็อคโคลี่
แครอท
เห็ดฟาง
ข้าวโพดอ่อน
กะหล่ำปลี
ผักกาดหอม

(ปริมาณตามต้องการ)



1. นำพริกแห้ง หอมแดง กระเทียม ข่าอ่อน รากผักชี ตะไคร้ ถ้ากลัวจะฝืดก็เติมกะทิเล็กน้อย แล้วปั่นให้ละเอียด
2. เอาน้ำพริกที่ลงกระทะไว้ ผัดไฟแรง พอเริ่มแตกมันก็ปรุงรสด้วย น้ำปลา น้ำตาลปี๊บ แล้วก็น้ำมะขามเปียก แล้วใส่ถั่วลิสงคั่วป่นลงไป พอเดือดอีกทีก็ปิดไฟได้
3. ทอดเต้าหู้เตรียมไว้แล้วลวกผักทั้งหมดตามลำดับ กะหล่ำปลี บร็อคโคลี่ แครอท ข้าวโพดอ่อน เห็ดฟาง ในน้ำอีกหม้อนึงลวกถั่วงอก
4. เรียงผักใส่จานให้สวยงาม วางไข่ต้มผ่า
5. ราดน้ำแล้วรับประทานทันที

ซุปไก่ [ลาว]




ส่วนผสม

น่องเล็กไก่ 300 กรัม
แครอทหั่นเป็นแว่นหนาประมาณ ½ นิ้ว 100 กรัม
หอมใหญ่ผ่า 4 4 หัว
มันฝรั่งปอกเปลือก หั่นเป็นชิ้มขนาด 1 ½ x 1 ½ นิ้ว 200 กรัม
มะเขือเทศสีดา 10-12 ลูก
รากผักชี 3 ราก
กระทียม 4-5 กลีบ
พริกไทยเม็ด ½ ช้อนโต๊ะ

เครื่องปรุง

น้ำปลา 1 ช้อนโต๊ะ
เกลือ 2 ช้อนชา

1. เทน้ำใส่หม้อ ตามด้วย รากผักชี พริกไทย กระเทียม และ น่องไก่ ตั้งไฟอ่อนที่สุด จนเดือด ช้อนฟองออกให้หมด
2. ใส่มันฝรั่ง เคี่ยวต่อประมาณ 15-20 นาที ใส่แครอท
3. กะว่าแครอทเกือบจะสุก ใส่หอมใหญ่ เคี่ยวจนจนหอมใหญ่สุกน้ำซุปจะออกรสหวาน ปรุงรสด้วย เกลือและ น้ำปลา
4. ใส่มะเขือเทศลงไป เคี่ยวแต่พอให้เปลือกมะเขือเทศแตกออก ปิดไฟได้
5. ตักเสิร์ฟได้

นาซิ เลอมัก [มาเลเซีย]





อาหารจานนี้ Nasi Lemak อ่านว่า นาซิ เลอมัก เป็นอาหารมาเลย์

Nasi Lemak มันคืออะไร มันก็คือข้าวมัน (ข้าวสวยหุงกับกะทิ) กินกับ แกงกะหรี่ไก่ หรือปลาหมึก น้ำขลุกขลิก (หรือจะเป็นอย่างอื่นก็ได้ค่ะ) แล้วก็มีเครื่องเคียงเป็นไข่ดาว ปลาทุทอด ปลาเล็กๆทอด ( Ikan Bilis) ถั่วทอด น้ำพริก (Sambal) แล้วก็แตงกวา
ส่วนประกอบ (ข้าว)
  • กะทิ กะเอานะคะเหมือนเราหุงข้าวนะคะ(ให้ท่วมหลังมือก็ใช้ได้แล้วนะคะ)หัว-หาง รวมกันจ้า
  • ใบเตย 4-5 ใบ
  • ขิงทุบพอแหลก-เกลือ นิดนึง
  • ข้าวสาร
วิธีหุ้งข้าว
  • ตวงข้าว เตรียมหุงข้าวสวย ใส่น้ำแบบหุงข้าวธรรมดา  (ลดน้ำนิ๊ดเดียวเพราะเดี๋ยวจะมีน้ำกะทิอีก)
  • เติมกะทิลงในข้าวที่ซาว และเติมน้ำเรียบร้อยแล้ว  ใส่ ใบเตย กับ ขิงที่ทุบแล้วลงไป เพื่อให้ข้าวที่หุงเสร็จมีกลิ่นหอม
เครื่องเคียงที่ทานกับข้าว (เลือกใส่ได้นะค่ะ)
  • ถั่วกับปลาทอดกรอบ
  • ไข่ทอด หรือ ไข่ต้ม
  • ปีกไก่ทอด
  • otaha (ออตา) ไม่มีไม่ต้องใส่คะ
  • ปลาทูสด ทอด
  • แตงกวา (บีบมะนาวใส่ 1ลูก ตัดด้วยน้ำตาล เกลือนิด)
ส่วนประกอบเครื่องพริกแกง (ใช้เป็นแกงกระหรี่ไก่แทนได้ค่ะ)
  • samba 1กะปุก (ใส่ตามความชอบ หรือจะใส่ราดข้าวเลยก็ได้)
  • กุ้งแห้ง 80 กรัม (แช่น้ำ)
  • มะขามเปียกแช่น้ำ 70 กรัม
  • น้ำตาล 2 ชต.
  • หอมแดง 4-6 หัว
  • สตอ 1/4 ของแพ๊ค (ไม่ชอบไม่ใส่ก็ได้ค่ะ)
  • กุ้ง, ปลาหมึก, ไก่ (เลือกใส่ได้นะค่ะ)
  • น้ำมันพืช 1 ทัพพี
วิธีทำ
  • นำกุ้งที่แห้งไปตำให้ละเอียด (ใช่เครื่องปั่นได้)
  • ตั้งกะทะใส่น้ำมันพืช ลงไปพอร้อนแล้วเอากุ้งที่ปั่นแล้วลงผัด ตามด้วย samba
  • ผัดให้เข้ากันดี แล้วเติมน้ำมะขามเปียก ผัดจนเป็นเนื้อเดียวกัน
  • ใส่หอมหัวใหญ่ที่หั่นลงกะทะ แล้วเติมน้ำนิดหน่อย พอให้คลุกคลิก
  • พอกุ้งเริ่มสุก ก็ปรุงรสด้วยน้ำตาลได้เลยค่ะ ผัดให้น้ำตาลละลาย
  • ตักราดข้าวได้เลยค่ะ พร้อมเสริฟ

ป่อเปี๊ยเวียดนาม [เวียดนาม]




      เมนูนี้คนที่เข้าร้านอาหารเวียดนามทุกๆคนน่าจะรู้จักกันดี แป้งปอเปี๊ยะหรือที่เรียกกันว่าใบเมี่ยงเวียดนามที่นำมาห่อไส้ในต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นหมูยอ เนื้อกุ้ง เนื้อหมู หรือไส้ที่แล้วแต่คนชอบ พร้อมด้วยผักต่างๆ ก่อนที่จะนำไปตัดเสริฟขนาดพอคำ กินคู่กับน้ำจิ้มปอเปี๊ยะที่ออกรสเปรี้ยวหวาน ทานคู่กับผักเคียงต่างๆ จานนี้อร่อยและได้สุขภาพจากผักนานาชนิดด้วยครับ


สูตรอาหารปอเปี๊ยะสดญวน (ปอเปี๊ยะสดเวียดนาม)


ระยะเวลา 40 นาที
สำหรับ 2-4 คน

วัตถุดิบปอเปี๊ยะสดญวน

1. ใบเมี่ยงเวียดนาม (แผ่นแป้งห่อ พรมน้ำในนิ่ม) 6 แผ่น
2. หมูยอ (หั่นตามยามเป็นชิ้นบาง) 1 แท่ง (เล็ก)
3. กุ้งลวก (ผ่าครึ่ง) 6 ตัว
4. ใบโหระพา (เด็ดเป็นใบๆ) 1 กำ
5. ใบสะระแหน่ (เด็ดเป็นใบๆ) 1 กำ
6. ผักกาดหอม (เด็ดเป็นใบๆ ตัดส่วนก้านออก) 1 กำ
7. ผักชีฝรั่ง 6-12 ใบ
8. แครอทซอยเป็นเส้น 1/2 ถ้วย

น้ำจิ้ม 
9. น้ำส้มสายชู 1/4 ถ้วย
10. น้ำตาลทราย 1/4 ถ้วย
11. เกลือ 1/2 ช้อนชา
12. น้ำ 2 ช้อนโต๊ะ
13. พริกชี้ฟ้าแดง (โขลก) 1 ช้อนโต๊ะ
14. กระเทียม (โขลก) 1 ช้อนโต๊ะ
15. แครอท (ขูดฝอย) 1/4 ถ้วย
16. หัวไชเท้า (ขูดฝอย) 1/4 ถ้วย

วิธีทำปอเปี๊ยะสดญวน

1. หม้อใส่น้ำส้มสายชู น้ำตาลทราย เกลือ น้ำ ตั้งไฟเคี่ยวพอข้น (ไม่เหนียว) ใส่พริกชี้ฟ้าแดง กระเทียมโขลก แครรอท ไชเท้าเส้น ปิดไฟ ใส่ภาชนะพักไว้
2. ถาดวางใบเมี่ยงญวน (พรมน้ำให้นิ่ม) ใส่ผักกาดหอม ใบโหระพา ใบสาระแหน ผักชีฝรั่ง แครอทซอย (ขนมจีน) หมูยอ กุ้ง ห่อให้เน่นๆ

อโดโบ้ [ฟิลิปปินส์]



    อโดโบ้ มาจากภาษาสเปน สื่อถึงการปรุงรส หรือหมัก พลได้สัมผัสกับอโดโบ้ตอนไปทำงานที่ฟิลิปปินส์ อโดโบ้มีทั้งที่เป็นหมูและไก่ หลักๆ ก็คือสตูว์ที่ปรุงรสด้วยน้ำส้มสายชูนั่นเอง อโดโบ้ไก่สามารถใช้ไก่ทั้งตัว หั่นเป็นชิ้นหลักๆ 8 ชิ้น แต่ในสูตรของพลทำให้สะดวกขึ้นโดยการใช้สะโพกไก่ทั้งหมด อโดโบ้เป็นสตูว์ที่นิยมรับประทานกับข้าว

ส่วนประกอบ

น้ำมันรำข้าว    2 ช้อนโต๊ะ
สะโพกไก่    800 กรัม
ซีอิ้วขาว    250 มิลลิลิตร
น้ำส้มสายชู    250 มิลลิลิตร
น้ำเปล่า    250 มิลลิลิตร
หอมหัวใหญ่สับ    60 กรัม
กระเทียมบุบ    6-7 กลีบ
ใบกระวาน    4-5 ใบ
เม็ดพริกไทยขาว    5 กรัม
ขิง    25 กรัม
น้ำตาลทราย    1 ช้อนชา

วิธีทำ
1. ใส่น้ำมันรำข้าวลงในกระทะ พอร้อนดี ก็นำไก่ลงไปจี่ให้ด้านนอกสุกเล็กน้อย
2. เติมซีอิ้วขาว น้ำส้มสายชู น้ำเปล่า หอมใหญ่สับ กระเทียม ใบกระวาน พริกไทยขาว และขิงลงไป เคี่ยวประมาณ 30 นาที จนไก่นุ่ม และน้ำลดลง
3. ตัดรสด้วยน้ำตาลทรายเล็กน้อย ก่อนยกออกจากความร้อน เสิร์ฟรับประทานกับข้าว

หมายเหตุ อโดโบ้สูตรต้นตำรับ จะไม่ใส่น้ำตาล แต่พลปรับรสให้เข้ากับรสบ้านเรา โดยตัดความเปรี้ยวให้กลมกล่อมขึ้นด้วยน้ำตาลเล็กน้อย

ลักสา [สิงคโปร์]



เครื่องปรุงลักซา
  • น้ำมันถั่วเหลือง
  • เครื่องแกงที่โขลก
  • กะทิ
  • น้ำซุป
  • น้ำปลา
  • น้ำตาลทราย
  • เส้นบะหมีไวไว
  • กุ้งต้มสุกผ่าครึ่ง
  • เต้าหู้หั่นเต๋าทอด
  • ถั่วงอกลวก
  • พริกชี้ฟ้าแดง
  • ต้นหอมซอย
  • แตงกวาซอย
  • หอมแดงเจียว
  • เส้นบะหมี่ไวไวทอด
  • พริกดอง
  • มะนาวหั่นเสี้ยว




  • 1 ช้อนชา
  • 2 ช้อนโต๊ะ
  • 2 ถ้วยตวง
  • 2 ถ้วยตวง
  • 2 ช้อนโต๊ะ
  • 1 ช้อนโต๊ะ
  • 1 ซอง
  • 50 กรัม
  • 30 กรัม
  • 30 กรัม
  • 20 กรัม
  • ½ กรัม
  • 30 กรัม
  • 1 ช้อนโต๊ะ
  • สำหรับเสิร์ฟ
  • สำหรับเสิร์ฟ
  • สำหรับเสิร์ฟ

วิธีทำ
  • 1.นำหม้อตั้งเตา IHC ใส่น้ำมันลงไปพอร้อน
  • 2.ใส่เครื่องแกงลักซาลงไปผัดให้เครื่องแกงสุกและหอม
  • 3.ใส่น้ำซุปลงไปต้มพอเดือด เติมกะทิลงไป คนให้เข้ากัน ต้มพอเดือด
  • 4.ปรุงรสด้วย น้ำปลา น้ำตาล ชิมรสให้ออก เค็ม หวาน
  • 5.นำเส้นบะหมี่ไวไวที่ลวกแล้วลงในชาม แล้ววางเต้าหู้ทอด กุ้งลวก ถั่วงอก แตงกวา พริกชี้ฟ้าแดง ต้นหอมซอย
  • 6.ตักน้ำลักซาที่ปรุงรสแล้วลงในถ้วย โรยหน้าด้วยหอมแดงเจียว เสิร์ฟร้อน ๆ กับพริกบดและมะนาวหั่นเสี้ยว

หล่าเพ็ด [พม่า]



เครื่องปรุงและวิธีการปรุง

กระเทียมเจียว
กะโหลกมะพร้าว
กุ้งแห้ง มะม่วงหิม
พานต์ใบชะพลู งา
ขาว ถั่วเหลือง
ขิงหอมแดง
มะขามเปียก
น้ําตาลทรายขาว

คั่วมะม่วงหิมพานต์ดิบ ประมาณ 7-8 นาที
คั่วกุ้งแห้งประมาณ 5 นาที
ล้างใบชะพลูและเด็ดให้ติดก้านใบ
คั่วงาขาวเนื้อกระโหลดมะพร้าวหั่นฝอย และถั่วเหลืองให้พอกรอบ
ต้มน้ําตาลกับน้ํามะขามเปียกให้ข้นพอประมาณ
คั่วหอมแดงด้วยไฟอ่อน ๆ ประมาณ 5 นาที
ใช้ใบชะพลู ห่อส่วนผสมต่าง ๆ เข้าด้วยกันและราดด้วยน้ําเชื่อมผสม
หัวหอมแดงและกระเทียมเจียว

ต้มยำกุ้ง [ประเทศไทย]




ไม่มีหลักฐานแน่นชัดถือกำเนิดของอาหารไทยชนิดหนึ่งที่ เรียกว่า “ต้มยำกุ้ง” อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศได้เขียนถึงต้มยำกุ้งไว้ว่า

 “เมื่อ รับข้าวเจ้าจากอินเดียเข้ามาพร้อมกับการค้าทางทะเลอันดามันและศาสนา พราหมณ์-พุทธทำให้ “กับข้าว”เปลี่ยนไปเริ่มมี “น้ำแกง” เข้ามาหลากหลาย ทั้งแกงน้ำข้นใส่กะทิแบบอินเดียกับแกงน้ำได้แบบจีน

   กระทะเหล็กจากจีนทำให้อาหารไทยเติบโตขึ้น แล้วเกิดสิ่งใหม่ขึ้น เช่น ไข่เจียว และล่าสุดคือต้มยำกุ้งที่เอาวิธีปรุงอย่างพื้นเมืองดั้งเดิมมาปรับให้น้ำใส อย่างจีน

  ดร.สุวรรณา  เกรียงไกรเพ็ชร์ ผู้ช่วยศาสตรจารย์อาคันตุกะมหาลัยOSAKA ประเทศญี่ปุ่นกล่าวถึงคำว่า “แกง”
ซึ่ง ปรากฏอยู่ในวรรณคดีมรดกสมัยรัตนโกสินทร์ ที่แสดงถึงมิติทางสังคมและวัฒนธรรมของอาหารการกินในบทเสภาเรื่องขุนช้างขุน แผน ฉบับหอสมุดแห่งชาติ ดังนี้

  “…เช่นเมื่อนางทองประศรีพาพลายแก้วหนีอาญาการริบราชบาตร เสบียงที่ติดต่อมาในยามฉุกละหุก็คือ ข้าวเย็นก้นหม้อคดที่คดใส่ห่อผ้ามา เมื่อพลายแก้วกินข้าวที่แห้ง ก็รำพันว่า   แกงอยู่ไหนแม่ขาขอทาลิ้น ข้าวติดคอตาปลิ้นไม่กินแล้ว”
   นางทองประศรีบอกลูกชายว่า “จะเอาแกงที่ไหนพ่อพลายแก้ว วิ่งหนีเขามาตาบ้องแบวแว่วแว่วเหมือนจะเหลือเนื้อปลา” ก็ยังต่อรองอีกว่า “…ข้าวเย็นกับปลาแห้ง เรี่ยวแรงนั้นจะมีฤาแม่ขา ไม่ได้แกงก็แบ่งแต่ปลาร้า ละลายน้ำให้ข้าจงไวไว”

    แกงในที่นี้ หมายถึง แกงจืดซึ่งได้รับอิทธิพลจากอาหารจีนฮั่นมาตั่งแต่อยุธยาตอนต้น อาจารย์สุจิตต์ วงษ์เทศได้ให้คำนิยมคำว่า “แกง”ไว้สองความหมายคือ
     ความหมายที่1 แกง แปลว่าความตาย หรือมีความหมายเดียวกับ ฆ่า เมื่อใช้พูดจาในชีวิตประจำวันเลยซ่อนคำว่าเข้าไปฆ่าแกง แล้วยังมีชื่อย่านครั้งกรุงศรีอยุธยาว่า “ตะแลงแกง”สถานที่ประหารชีวิตนักโทษ
      ความหมายที่ 2 แกงหมายถึงกับข้าวอย่างหนึ่งที่มีน้ำ เรียกว่าน้ำแกง เช่น แกงเนื้อ แกงปลาแกงส้มฯลฯจะเห็นว่าแกงต้องมีเนื้อสัตว์ จะมีเนื้อสัตว์มาปรุงได้ก้ต้องฆ่าเสียก่อน

       การทำต้มยำกุ้ง ในระยะแรกอาจใช้น้ำปลา ใส่สมุนไพร จำพวกใบนาก ตะไคร์ ข่าแก่ ซึ้งมีวัตถุประสงค์ในการต้มคาวกุ้งหรือเนื้อสัตว์ที่ใช้ทำต้มยำ ตะไคร์ทุบเพื่อให้มีน้ำมันออกมาและเกิดกลิ่นมากกว่าการหั่นแฉลบ จะใส่เมื่อน้ำเดือด เพื่อให้ได้กลิ่นและน้ำแกงจะไม่เปลี่ยนสีเป็นสีเขียวของตะไคร์ เช่นเดียวกับข่าแก่ หั่นบางๆใส่ขณะที่น้ำแกงเดือดจะทำให้น้ำแกงเกิดความหอมใส่ก่อนใส่กุ้ง

คนไทยที่ถิ่นพำนักตามแนวเขตชายแดน ติดต่อประเทศอันได้แก่ ทิศตะวันตก กาญจนบุรี หรือ ทางใต้ ระนอง จะรู้จักและนิยมรับประทานกุ้งที่มาจากแม่น้ำสาละวิน เพราะเนื้อเหนียวแน่นไม่ยุ่ย และเคล็ดการต้มต้องไม่ปิดฝาหม้อและใช้ไฟปานกลางไม่แรงหรืออ่อนเกินไป เพราระถ้าไฟแรงจะทำให้น้ำต้มยำขุ่นไม่น่ารับประทาน เมื่อทุกอย่างสุกปิดไฟ รีบใส่รากผักชีหั่นฝอยลงไปทันทีเพื่อเพิ่มกลิ่นหอม ถ้าทำต้มยำน้ำข้นให้ตักเนื้อน้ำพริกเผงใส่ลงไปเล็กน้อยจะทำให้เป็นเงาสวยงาม น่ารับประทาน พริกขี้หนูที่จะใช้ต้องบุบทีละเม็ดจึงจะมีกลิ่นหอม

   ม.ล.เนื่อง  นิลรัตน์เล่าให้ฟังถึงการทำต้มยำกุ้งน้ำใสว่า เมื่อคัดกุ้งก้ามกรามที่มีขนาดเขื่อง ตาใส มีก้ามกรามเป็นสีฟ้าสวย ได้มาแล้วนำไปล้างให้สะอาด ตัดก้ามกรามและขาออกทั้งหมด ตัดกรีกุ้งออกจากท้องกุ้ง ปอกเปลือกกุ้งทิ้งส่วนหัวไว้ ทั้งเปลือกก่อนรวมทิ้งน้ำเหลือส่วนหางไว้ ใช้ใดกรีดปลายมีดแหลมกรีด ส่วนปลายเนื้อกุ้งที่ติดกับส่วนหางออกเล็กน้อย ใช้ปลายมีดหรือปลายไม้แหลม เขี่ยเส้นสีดำกลางหลังกุ้ง ค่อยๆดึงเส้นดำนั้นจะออกมาเอง กุ้งที่นำมาทำต้มยำกุ้งไม่ต้องผ่าหลัง เมื่อตั้งน้ำบนเตาไฟจึงเริ่มปอกหัวกุ้ง ใช้มีดกรีดด้านเนื้อบนเพื่อดึงส่วนสกปรกบริเวณหัวออก จะไม่ทำให้มันกุ้งแตกกระจาย เมื่อใส่ลงในน้ำเดือด ที่มีสมุนไพร ข่า ตะไคร้ที่ใส่ก่อนหน้านี้ มันกุ้งจะแตกตัวออกเอง และลอยอยู่ในน้ำแกง เป็นสีชมพูออมส้มออกสวยงาม ใส่น้ำปลา พริกขี้หนูบุบแล้วยกลงจากเตา บีบมะนาวโรยผักชีหั่นฝอย รวมทั้งยอดผักชี เมื่อตักใส่ชามแกงเจ้านายท่านเสวยแบบนี้ กุ้งมาจากที่ใดก็ได้ขอให้สดและขนาดกำลังพอดี

  น้ำพริกเผาที่ใส่ในน้ำต้มยำกุ้ง ไม่ใช้น้ำพริกเผาแบบที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบัน มีการผัดและเตรียมเก็บไว้ สำหรับทำต้มยำกุ้ง ใส่อาหารประเภทยำ ใส่ข้าวผัดหรือทาขนมแป้ง แต่ล่ะชนิดมีความต่างในการจัดทำทั้งสิ้น ปัจจุบันนิยมรับประทานน้ำพริกเผาที่ซื้อสำเร็จ และนิยมใส่นมข้นจืดกับน้ำมันน้ำพริกเผาลงในต้มยำกุ้งทั้งน้ำข้นและมักจะอ้าง ว่าเป็นตำรับชาววังเสมอ

  น้ำซุปที่ใช้ในการต้มยำกุ้งนั้น เป็นอิทธิพลที่ได้รับจากวัฒนธรรมการรับประทานอาหารจากชุมชนชาวจีนที่เข้ามา ตั้งรกรากอยู่ในดินแดนสุววรณภูมิ ซุปของคนจีน ปกติจะเป็นน้ำซุปใสเพื่อให้แทนน้ำดื่มเพราะในสมัยโบราณ การรับประทานอาหารของคนจีน จะไม่มีน้ำหรือนำแข็งเปล่าวางบนโต๊ะอาหาร จะมีแต่น้ำชาภายหลังเมื่อรับประทานอาหารสิ้นสุดแล้ว ประยงค์   อนันทวงศ์ ได้อธิบายการทำน้ำซุป ที่มีรสชาติอร่อยไว้ดังนี้

  เลือกใช้กระดูกหมู กระดูกวัวหรือโคร่งไก่ก็ได้ นำมาแช่น้ำเย็นไว้ให้น้ำท่วมพอประมาณ 1 ชั่วโมงแล้วต้มให้เดือดกับน้ำที่แช่ไว้ดังนี้

  ผักที่ใช้จะทำน้ำซุป เพื่อให้น้ำซุปมีรสดีขึ้น เป็นต้นว่า ต้นผักกาดขาว หอมหัวใหญ่ ฟัก น้ำเต้า ต้นหอม ต้นกระเทียม หัวไชเท้า เลือกเอาสัก 2 อย่าง ล้างน้ำให้สะอาดเสียก่อนแล้วใส่หม้อน้ำซุปต้มไปด้วยกันจนผักเปื่อย

  เลือกเครื่องเทศที่ชอบเช่น พริกไทย กานพลู อบเชย ใบกระวาน ใส่ลงไปด้วยเพื่อให้น้ำซุปมีกลิ่นหอม แต่จะให้หอมยิ่งขึ้น ต้องนำไปคั่วเสียก่อน จากนั้นก็ให้เติมเกลือลงไปเล็กน้อยพอออกรสเค็ม

  ต้มเคี่ยวไปนานประมาณ 1 ชั่วโมง จนเห็นว่าผักซุปเปื่อยแล้วกรองเอาแต่น้ำแล้วเอา น้ำซุปนั้นไปทำอาหารชนิดต่างๆตามใจชอบต่อไป

  ประจิตร  บุนนาคได้แนะนำเรื่องการใช้สมุนไพร เช่น ข่า ตะไคร์ และใบมะกรูด ตลอดจนพริกขี้หนูส่วนที่จะนำมาใช้ รวมทั้งน้ำมะนาว น้ำปลา ในการทำต้มยำกุ้งทั้งน้ำใสและน้ำข้น ควรใช้ข่าแก่พอประมาณเลือกดูอย่างให้มีเสี้ยนมาก ขูดผิวนอกออกให้หมดผานบางๆ เพื่อให้สามารถรับประทานไปพร้อมกับน้ำต้มยำได้ ตะไคร้หั่นเป็นท่อนๆขนาดพอดีคำ ควรเลือกตะไคร้ที่ไม่แก่มากทุบให้แตก ก่อนใส่ลงน้ำต้มยำ แช่ในน้ำมะนาวเพื่อทำให้ตะไคร้มีเนื้อชมพู พริกขี้หนูใช้พริกขี้หนูเม็ดไม่เล็กจนเกินไป ขนาดลุกลูกโดดที่ที่ใส่ในน้ำพริก วางบนผ้าขาวบางแล้วปิดทับด้วยผ้าขาวบางอีกชั้นก่อนใช้สากบุบเบาๆก่อนใส่ลงใน หม้อต้มยำ ควรทำทีละเม็ดน้ำหนักในการบุบจะไม่เท่าไม่กัน ใช้ทั้งสีเขียวและแดง เห็ดฟางควรเลือกดอกตูมขนาดเท่าๆกัน ผักชีควรเลือกใบเล็กๆเวลาใช้ประดับเด็ดเป็นยอดๆเมื่อเวลาเสิร์ฟจะเกิดความ สวยงาม ใบมะกรูดอย่าใช่อ่อนหรือแก่มาก ฉีกเล็กๆใส่ก่อนปิดไฟ เพื่อให้เกิดความหอม น้ำปลาปรุงในหม้อบนเตา น้ำมะนาวมาบีบหลังจากยกหม้อลงจากเตาแล้วจะได้กลิ่นหอมของมะนาว
และไม่ขม

  ในปัจจุบันนิยมใช้กุ้งแม่น้ำแถบริมแม่น้ำเจ้าพระยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และเริ่มใช้กุ้งเลี้ยงในการทำต้มยำกุ้ง นิยมผ่าหลัง เพื่อให้ดูมีปริมาณมากขึ้น ใช้เห็ดชนิดต่างๆใส่แทนเห็ดฟาง ใช้พริกจินดาสีแดงแทนพริกขี้หนูสวน หั่นตะไคร้แลบๆทำให้ไม่เกิดกลิ่นหอมเต็มที่ไม่ใส่ก้านผักชี เด็ดในผักชีเป็นใบๆและที่ทำให้ต้มยำกุ้งแบบโบราณสูญหายไปจากทำเนียบอาหารไทย คือ การใส่นมข้นจืดและน้ำมันน้ำพริกเผาลงในน้ำต้มยำกุ้งแบบน้ำข้นหรือบางแห่งใช้ นมผงแทนนมข้นจืด ทำให้เสียอรรถรสแบบโบราณโดยสิ้นเชิง